งานวันรวมน้ำใจ มจพ. จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือทางด้านวิชาการและเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเยอรมัน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 65 ปี
มจพ. เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่มุ่งเน้นการพัฒนาคน พัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ วิชาการชั้นสูง งานวิจัยพัฒนา สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม และเพื่อแสดงความเคารพผู้มีอุปการคุณแก่มหาวิทยาลัย ส่งเสริมรักความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ ศิษย์เก่าและบุคลากร
ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ผลงานชื่อเสียงและเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัย พร้อมกับประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่นและผู้ปฏิบัติงานดีเด่น รวมทั้งผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัยด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำทุกปี จึงกำหนดจัดงานวันรวมน้ำใจชาว มจพ. ในจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ครบ 65 ปี “65 ปี มจพ. พลิกโฉม พลิกความคิด สู่ความยั่งยืน”
ประกาศผู้โชคดี วันที่ 8 มีนาคม 2567
ผ่านเพจเฟซบุ๊ก KMUTNBofficial
ณ ลานทวาปูชนียาจารย์ อาคารบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน
ณ ห้องประชุมประดู่แดง อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 2
พิธีรำลึกถึงทวาปูชนียาจารย์ เพื่อแสดงความเคารพและร่วมรำลึกถึง ศาสตราจารย์
ดร.บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ อาจารย์และผู้บริหารชาวไทยคนแรก
ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและผู้บุกเบิก มจพ. และ Dip. Ing. Karl Stützle
อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมันคนแรก ซึ่งได้ร่วมกันสร้างสรรค์และวางรากฐานรูปแบบการศึกษาแบบเยอรมัน
ให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง และมีชื่อเสียงเด่นดังเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในนาม “เทคนิคไทย-เยอรมัน”
โดยในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ วันคล้ายวัสถาปนามหาวิทยาลัย คณะผู้บริหาร
คณาจารย์ ศิษย์ปัจจุบัน ผู้เกษียณอายุราชการ บุคลากร เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
พร้อมเพรียงเข้าร่วมในพิธีรำลึกถึงปูชนียาจารย์ 2 ท่าน
ณ ลานหน้าอาคารบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเล็งเห็นความสำคัญในการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว อย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จึงได้จัดเตรียมต้นกล้วยไม้ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำวันครู เพื่อแสดงความระลึกถึงคุณครูทั้งสองท่านไว้สำหรับผู้เข้าร่วมพิธี
และจะนำไปเป็นประโยชน์สาธารณะให้กับมหาวิทยาลัยต่อไป
ดอกกล้วยไม้ นั้นเป็นดอกไม้ประจำวันครู เป็นพืชที่อยู่ในที่สูงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศไม่ร่วงโรยง่ายเปรียบเหมือนครูที่อยู่ทั่วแดนไทย ที่ต้องอดทนต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ และอุทิศตนเพื่อการศึกษาของชาติ โดยพิจารณาเห็นว่าธรรมชาติของ ดอกกล้วยไม้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานจัดการศึกษา และสภาพชีวิตของครู ดังคำกลอนของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ที่ว่า
รำลึกถึงปูชนียาจารย์ผู้ซึ่งก่อตั้งและเคารพยิ่งของชาว มจพ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา อ่องอารี
อดีตอธิการบดี และอดีตคณบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มจพ. 2 สมัย
ดูผลงานรองศาสตราจารย์ ดร.สันชัย อินทพิชัย
ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านพัฒนากิจการมหาวิทยาลัย และระบบงานพัสดุ มจพ. และอดีตรองอธิการบดี มจพ.
ดูผลงานดร.วรรธนะ เจริญนวรัตน์
ประธานกรรมการบริหาร บมจ.วนชัย กรุ๊ป (VNG) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริม และพัฒนามหาวิทยาลัย และอุทยานเทคโนโลยี มจพ.
ดูผลงานดร.บุญนาค โมกข์มงคลกุล
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนามหาวิทยาลัย และอุทยานเทคโนโลยี มจพ. และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดานิลี่ จำกัด
ดูผลงานดร.ปิยะ ปิตุเตชะ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง สมัยที่ 3 และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนา มจพ.
ดูผลงานดร.แสงชัย โชติช่วงชัชวาล
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนา มจพ. และอดีตกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มจพ.
ดูผลงานศาสตราจารย์พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนามหาวิทยาลัย และอุทยานเทคโนโลยี มจพ. และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา 2 สมัย
ดูผลงานดร.โอกาส เตพละกุล
อุปนายกสภามหาวิทยาลัย และประธานกรรมการขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา
ดูผลงานดร.สุรินทร์ โตทับเที่ยง
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มจพ. และประธานกรรมการบริหาร สินทรัพย์สุรินทร์ จำกัด และโรงแรมธรรมรินทร์
ดูผลงานนางสาวพรรณี จารุสมบัติ
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มจพ. และรองประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีน และส่งเสริมความสัมพันธ์
ดูผลงานนายโอภาส เขียววิชัย
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มจพ. และอดีตที่ปรึกษาด้านระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ดูผลงานรองศาสตราจารย์ ดร.เรณา พงษ์เรืองพันธุ์
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มจพ. และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
ดูผลงานดร.ศิริธัช โรจนพฤกษ์
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประธานคณะกรรมการบริหารอุทยานเทคโนโลยี มจพ.
ดูผลงานดร.พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มจพ. และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ดูผลงานศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มจพ. และผู้อำนวยการ Center of Excellence in Electromagnetic Energy Utilization in Engineering (CEEE)
ดูผลงานดร.สมยศ กีรติชีวนันท์
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มจพ. และประธานกรรมการ บริษัท บิทไว้ส์ จำกัด
ดูผลงานนายศุภชัย ตั้งวรชัย
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มจพ. และอดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ทีโอที จำกัด (มหาชน)
ดูผลงานดร.วินัย สารสุวรรณ
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มจพ. และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แมคพาย บลาซเทค กรุ๊ป จำกัด
ดูผลงานนายสุรเดช บัวทรัพย์
นายกสมาคมศิษย์เก่า มจพ. ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการสภา มจพ. และกรรมการผู้จัดการ บริษัท อีเมค จำกัด
ดูผลงานดร.ปรีดา อัตวินิจตระการ
อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มจพ. และอดีตผู้อำนวยการส่วนวิจัยการพัฒนาอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ดูผลงานศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ พิสุทธิ์ไพศาล
รางวัล Gold Prize และรางวัลพิเศษจาก Massasei Women’s Charitable Association ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย
ดูผลงานผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ
รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) และรางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) จากสมาพันธรัฐสวิส
ดูผลงานทีม iRap ROBOT
แชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัยระดับโลก “World RoboCup Rescue 2023” จากสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ดูผลงานศาสตราจารย์ ดร.พานิช วุฒิพฤกษ์
รางวัล AFEO Honorary Fellow Award จากสมาพันธ์สมาคม วิศวกรอาเซียน CAFEO
ดูผลงานLorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book. It has survived not only five centuries, but also the leap into electronic typesetting, remaining essentially unchanged. It was popularised in the 1960s with the release of Letraset sheets containing Lorem Ipsum passages, and more recently with desktop publishing software like Aldus PageMaker including versions of Lorem Ipsum.